PRODUCTS KNOWLEDGE

/PRODUCTS KNOWLEDGE
PRODUCTS KNOWLEDGE2019-04-30T08:30:58+07:00
105, 2019

ชนิดของ ปั๊มน้ำแบบ โรตารี่

ปั๊มน้ำแบบ โรตารี่ ทำงาน โดยอาศัยหลักการแทนที่ของ ของเหลว ภายในห้องของตัวปั๊มด้วยการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน ซึ่งหมุนเพื่อทำให้เกิดความแตกต่างของความดันภายในระบบ ของเหลวจะถูกดูดเข้า และ อัดทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้นแล้ว ปล่อยออกมาทางด้านปล่อย ชิ้นส่วนที่หมุนดังกล่าวเรียกว่า โรเตอร์ การหมุนของโรเตอร์ จะก่อให้เกิดการแทนที่ของ ของเหลว ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ของไหลที่ไหลผ่านปั๊มมีอัตราการไหลอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ปั๊มน้ำแบบ โรตารี่ จะมีอัตราการสูบต่ำกว่าปั๊มประเภทอื่นๆ เนื่องจากอัตราการแทนที่ของเหลวมีค่าต่ำโดยทั่วไปจะมีประสิทธิภาพประมาณ 80 – 85 % ขึ้นอยู่กับการสูญเสียเนื่องจากความเสียดทาน และคุณลักษณะของของไหลที่ใช้สูบ ชนิดของ ปั๊มน้ำแบบ โรตารี่ แบ่งได้ตามนี้ นิยมใช้กันแพร่หลาย ของเหลวจะถูกสูบด้วยอัตราคงที่ ทำให้การไหลเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เหมาะกับงานที่ต้องการสูบของเหลวที่มีความหนืดสูง เช่น ในระบบไฮดรอลิกส์ ในระบบหล่อลื่นของเครื่องยนต์ทั่วๆไป เป็นต้น ภายในตัวเรือนประกอบด้วยเฟืองเกียร์ 2 ตัว หมุนขบกันอยู่ ซึ่งง่ายต่อการซ่อมแซม ทำความสะอาด และสามารถถอดประกอบได้ง่าย ประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มประเภทนี้ค่อนข้างสูง เมื่อทำงานกับของไหลที่มีคุณสมบัติเป็นสารหล่อลื่น ปั๊มประเภทนี้แบ่งย่อยตามลักษณะการจัดเก็บเฟืองเกียร์ ปั๊มแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับปั๊มแบบ External Gear Pump นอกจากว่าจำนวนลอน (Lobe) จะมีจำนวนน้อยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งจะมีผลทำให้สามารถสูบของไหลได้ในปริมาณที่มากกว่า แต่อัตราการไหลจะไม่ค่อยคงที่ ภายในปั๊มโรตารีแบบเกลียว (Screw) นี้ ภายในจะมีลักษณะเป็นเกลียวหมุนขบกัน การหมุนขบกันของเกลียวจะทำให้เกิดความแตกต่างของแรงดันขึ้นภายในระบบ ทำให้สามารถขับดันให้ของไหลเกิดการเคลื่อนที่ได้ ปั๊มโรตารีแบบแผ่นกวาด (Vane) ภายในปั๊มจะมีครีบหรือแผ่นกวาด ซึ่งสามารถเลื่อนเข้า-ออก ได้ภายในเรือนปั๊ม แรงจากการหมุนของแผ่นกวาดจะทำให้ของไหลถูกขับดันและเกิดการเคลื่อนที่ ส่วนปลายของแผ่นกวาดจะสัมผัสกับผนังของเรือนปั๊มอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่หมุนกวาดอยู่ภายในเรือนปั๊มจะทำให้ส่วนปลายของแผ่นกวาดเกิดการสึกหรอเร็ว แต่ไม่มีผลกระทบต่อการลดลงของความดันภายระบบเพราะว่า แผ่นกวาดสามารถที่จะเลื่อนออกมาจนสัมผัสกับผนังของเรือนปั๊มได้เหมือนเดิม ปั๊มน้ำแบบ โรตารี่ (Rotary Gear Pump) ที่สยามเพ็ญเทค จัดจำหน่าย ขอขอบคุณบทความดีๆจาก https://ienergyguru.com/2015/09/pump/

3004, 2019

เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง เป็นอย่างไร?

เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง นี้ มาจากรูปร่างลักษณะของตัวปั๊มที่เหมือนขดของหอยโข่ง เป็นปั๊มชนิดที่คนนิยมใช้กันมาก เป็นปั๊มชนิดแรงเหวี่ยงข้อดีก็คือใช้งานคล่องตัวและดูแลรักษาได้ง่าย ระบบการทำงานคือจะมีใบพัดอยู่ภายใน และเมื่อใบพัดหมุนจะเกิดแรงเหวี่ยงน้ำส่งน้ำจากส่วนปลายใบพัดเข้าในโพรงหอยโข่ง ปั๊มหอยโข่งจัดว่าเป็นปั๊มน้ำเพลาลอยชนิดหนึ่ง เหมาะกับงานสูบน้ำสะอาดทั่วไปที่ต้องการปริมาณน้ำปานกลางถึงมาก และสูบส่งได้สูง เหมาะสำหรับงานเพิ่มแรงดันภายในที่พักอาศัยและอุตสาหกรรม งงานสูบน้ำในระบบหล่อเย็น เปลี่ยนถ่ายความร้อน งานสูบน้ำในสวนหย่อมหรือสวนผัก งานระบบบำบัดน้ำ ชลประทาน รดน้ำ งานสูบส่งเคมีบางชนิด เครื่องสูบน้ำชนิดนี้ มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อภาคการเกษตร คือ สูบน้ำได้ปริมาณมาก น้ำที่สูบไม่จำเป็นที่จะต้องสะอาด เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำ ไม่ค่อยมีผลเสียต่อเครื่องสูบน้ำชนิดนี้มากนัก การใช้งานก็มีอยู่อย่างกว้างขวาง ทั้งในไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ หรือแม้แต่ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เครื่องสูบน้ำแบบนี้ เหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง หรืออ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่เกิน 10 เมตร การทำงานของปั๊มจะทำการสูบน้ำโดยใช้ระบบใบพัด ความเร็วรอบสูง จะทำให้ได้ปริมาณน้ำมาก อัตราการไหลอยู่ที่ 20,000 45,000L/H ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะใบพัด Total Head 15-20 เมตร ถ้าเป็นหอยโข่งรุ่น 2 ใบพัด, 3 ใบพัด Head จะมากขึ้น ข้อดีและข้อเสียของ เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง ข้อดี ลักษณะโครงสร้าง และส่วนประกอบไม่ซับซ้อน ไม่มีวาล์วหรือลูกสูบ ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวมีเพียง 2-3 ชิ้น สมรรถนะในการทำงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีการกระแทกหรือสั่นสะเทือน กระทัดรัด และน้ำหนักเบา อายุใช้งานนาน บำรุงรักษาน้อย ราคาถูก ข้อเสีย ก่อนจะสูบน้ำต้องมีการล่อน้ำ ถ้าหากว่าเครื่องสูบน้ำนั้นไม่มีลิ้นหัวกระโหลก หรืออุปกรณ์ล่อน้ำอัตโนมัติ สูบน้ำได้ไม่เกิน 10 เมตร โดยวัดจากเครื่องลงไปยังผิวน้ำ ข้อควรระวังประการหนึ่งของการใช้เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่งคือความเร็วของใบพัดถ้าความเร็วเปลี่ยนคุณสมบัติต่าง ๆ ของการสูบน้ำก็จะเปลี่ยนตาม เพราะตามทฤษฎีแล้ว ปริมาณน้ำที่สูบได้จะแปรผันตามความเร็ว ระดับน้ำที่สูบขึ้นไปได้จะแปรผันตามความเร็วยกกำลังสอง กำลังที่ใช้ฉุดจะแปรผันกับความเร็วยกกำลังสาม Centrifugal Pump เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง ยี่ห้อ Gorman-rupp บริษัท สยามเพ็ญเทค เป็นตัวแทนจำหน่ายปั๊มน้ำหอยโข่งยี่ห้อ gorman-rupp ซึ่งมีเครื่องสูบแบบหอยโข่งให้เลือกใช้งาน โดยเครื่องสูบถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีความสามารถในการรับงานหนักต่อเนื่องยาวนาน และมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อความสะดวกและประหยัดในการบำรุงรักษา

3004, 2019

การตรวจสอบและการบำรุงรักษาปั๊ม

เพื่อให้ปั๊มมีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่ต้องหยุดทำงานเพื่อซ่อมแซมบ่อยครั้ง ปั๊มทุกเครื่อง ควรมีสมุดประวัติการใช้งานและบำรุงรักษา ตลอดจนมีตารางเวลาสำหรับตรวจสอบและบำรุงรักษาที่แน่นอน การตรวจสอบและบำรุงรักษาอาจแบ่งออกเป็นการตรวจสอบประจำวัน การตรวจสอบทุก 6 เดือน การตรวจสอบประจำปี การตรวจสอบและบำรุงรักษาตามกำหนดเวลาต่างๆ มีดังต่อไปนี้ อุณหภูมิของรองลื่น ความดันทางท่อดูดและท่อจ่าย การรั่วจากกันรั่ว (Seal) การหล่อลื่นกันรั่วโดยดูจากหลอดแก้ว หรือตัวชี้อื่นๆ โหลด (Load) ของมอเตอร์ไฟฟ้า ระดับเสียงและการสั่นสะเทือน ระดับน้ำมันหล่อลื่นที่มาเลี้ยงรองลื่น การได้ศูนย์ระหว่างปั๊ม และต้นกำลัง การเติมน้ำมัน หรือจารบีให้กับรองลื่น ตรวจรอยรั่วท่อทางดูด การรั่วตามเพลาและการซ่อมบำรุงกันรั่ว การสึกของปลอกเพลา ช่องว่างระหว่างใบพัดกับแหวนกันสึก ทดสอบและปรับแก้เกจ์วัดต่างๆ ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้า เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นและจารบีรองลื่น ***หมายเหตุ; เนื่องจากรายละเอียดของวิธีการตรวจสอบ และการซ่อมบำรุงจะแตกต่างกันไปตามชนิดของปั๊มและบริษัทผู้ผลิต ดังนั้น ควรศึกษาจากคู่มือผู้ใช้สำหรับปั๊มนั้นๆ*** การแก้ปัญหา คำเตือน ก่อนทำการเปิดตัวปั้ม หรือ ทำการซ่อมแซมควรปฏิบัติตามนี้ ศึกษารายละเอียด และขั้นตอนในหนังสือคู่มืออย่างละเอียด ตรวจสอบว่าชุดต้นกำลังขับได้ถอดออกเรียบร้อยแล้ว ปล่อยให้ปั๊มเย็นตัวก่อนถ้าเกิด Over Heat ปิด ท่อดูดและท่อส่งน้ำ ตรวจสอบอุณหภูมิก่อนจะเปิดฝาครอบ และชิ้นส่วนต่างๆ ปล่อยน้ำออกจากปั๊ม ปัญหา สาเหตุ วิธีการแก้ไขที่เป็นไปได้ ปั๊มไม่สามารถทำการสูบน้ำได้ - มีรอยรั่วที่สายดูด - สายดูดขาดหรือเสียหาย - ซีลหรือประเก็นรั่วหรือฉีกขาด - ซ่อมแซมรอยรั่ว - เปลี่ยนสายดูดใหม่ - ตรวจสอบระดับสุญญากาศ อาจต้องเปลี่ยนซีลหรือประเก็น ปั๊มหยุดทำงานหรือแรงดันในการส่งน้ำลดลง - มีอากาศเข้าบริเวณสายดูด (รั่ว) - สายดูดขาดหรือเสียหาย- ใบพัดหรือชิ้นส่วนอื่นสึกหรอ และเสียหาย- ใบพัดปั๊มอุดตัน- ปั๊มหมุนที่ความเร็วต่ำไป - ตัวกรองอุดตัน - เกิดรอยรั่ว หรือซีลฉีกขาด หรือประเก็นปั๊มรั่ว - ซ่อมแซมรอยรั่ว - เปลี่ยนสายดูด - เปลี่ยนส่วนที่เสียหายฉีกขาด ตรวจสอบใบพัดปั๊มว่าได้ศูนย์และหมุนได้อิสระหรือไม่ - เอาเศษสิ่งสกปรกออกจากใบพัด - ตรวจสอบชุดต้นกำลังขับ และตัวส่งถ่ายกำลัง - ตรวจสอบตัวกรองและทำ ความสะอาดถ้าจำเป็น - ตรวจสอบแรงสูญญากาศของปั๊มเปลี่ยนส่วนที่รั่ว ปั๊มใช้กำลังมากกว่าปกติ - ใบพัดหมุนเร็วผิดปกติ - ความดันด้านจ่ายต่ำเกิน - ของเหลวที่สูบถ่ายเข้มข้นเกิน - ตรวจสอบรอบตัวส่งกำลัง - ปรับวาล์วทางส่งน้ำ - เจือจางของเหลวที่สูบถ่าย ปั๊มอุดตันบ่อย - ของเหลวที่สูบจ่ายเข้มข้นเกิน - อัตราส่งน้ำออกช้ามาก - เช็ควาล์วท่อดูดอุดตัน - เจือจางของเหลวที่จะสูบจ่าย - เปิดวาล์วส่งเต็มที่เพื่อเพิ่มอัตราส่งน้ำและปรับรอบปั๊มเพิ่มขึ้น (ถ้าจำเป็นและเป็นไปได้) - ทำความสะอาดเช็ควาล์ว ปั๊มมีเสียงดังมาก - ใบพัดเสียหาย หรืออุดตัน - ตัวปั๊ม, ตัวส่งกำลังติดตั้งไม่ดี - มีฟองอากาศเกิดขึ้นในเส้นท่อ (Cavitation) - ทำความสะอาด เอาสิ่งสกปรกออกและเปลี่ยนส่วนที่เสียหาย - ตรวจการติดตั้งปั๊มให้ถูกต้อง - ตรวจหาและกำจัดแหล่งที่มาของฟองอากาศ ตลับลูกปืนร้อนเกินไป - ตลับลูกปืนมีอุณหภูมิสูงแต่ยังอยู่ในอัตราที่กำหนด - ขาดการหล่อลื่น หรือหล่อลื่นตลับลูกปืนน้อยไป - การเดินท่อและท่อส่ง ยังไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมกับการ ใช้งาน - เพลาขับไม่ได้ศูนย์ - ตรวจอุณหภูมิของลูกปืนบ่อยๆ และติดตามดูว่าอุณหภูมิสูงกว่าขีดจำกัดหรือไม่ - ตรวจสอบว่าการหล่อลื่นใช้อย่างถูกต้องและมีปริมาณตามระดับที่ระบุหรือไม่ - ตรวจการวางท่อ และเส้นทาง เดินท่อใหม่ - ตั้งศูนย์ขับเคลื่อนใหม่

406, 2018

การดูแลและรักษาปั๊ม

It’s no secret that a pump that runs at peak efficiency uses less fuel, experiences less downtime and costs less to operate. The time you spend maintaining your pump is actually an investment in its lifetime performance and value. In fact, there are many ways that a diligently maintained pump can reduce your costs, while increasing efficiency. For instance, by ensuring your pump investment brings an ease-of-service design, the time you spend on maintenance can be significantly minimized. Using the information below, see if you can identify some of your own trouble spots, and uncover potential solutions to get you back on the road to good pump health – boosting profits along the way. Commons Signs of Inefficiency in a Self-Priming Pump A noticeable difference in pump flow Take notice of the discharge flow. Has it visibly decreased? Is it taking your pump longer to do the same job than it used to? The slowed flow may be caused by a collapsed suction hose lining, a leaking gasket, a plugged suction line or a damaged or worn impeller or wear plate. To determine the cause of any decrease in flow, the discharge pressure and the suction vacuum should be measured while the pump is operating. If the pump discharge pressure and suction vacuum were measured at start up, the latest readings should be compared to the originally recorded readings. When troubleshooting any pump and system, follow the high abnormal reading taken earlier. A higher [...]

406, 2018

Cavitation คืออะไร

Cavitation เป็นปรากฏการณ์ที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง pumps และ control valves ภายใต้สภาวะที่ไม่ถูกต้อง Cavitation จะเกิดขึ้นได้ถ้าของเหลวมีค่าความดันสถิตเฉพาะที่ต่ำกว่าความดันไอของมันที่อุณหภูมินั้น ซึ่งก็จะทําให้ของเหลวดังกล่าวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นฟองไอขึ้น เป็นจํานวนมาก จาก Bernoulli Equation cavitation อาจเกิดได้เมื่อ ความเร็วของสารเพิ่มขึ้นในขณะผ่าน control valve หรือ pump impeller เมื่อฟองไอเหล่านี้เคลื่อนตัวไปอยู่ในตำแหน่งที่มีความดันสูงขึ้น ฟองไอจะแตกตัวอย่างฉับพลันที่ผิวของแข็ง ทําให้เกิดการกระแทกของของเหลว ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน และเกิดการกัดกร่อนของผิวโลหะที่ถูกกระแทก นอกจากนี้ยังมีเสียงดังตามมาอีกด้วย ปรากฏการณ์คาวิเตชั่นมักเกิดขึ้นที่บริเวณปากทางเข้าและบริเวณใบพัดของ pump และภายในตัว control valve สาเหตุของ cavitation นั้นคือ การที่ของเหลวมีความเร็วสูงมากจนส่งผลให้ความดันสถิตเฉพาะที่ของของเหลวในบริเวณนั้นๆ ลดต่ำลงกว่าความดันไอ ในการตรวจสอบว่าในระบบการไหลจะมีปรากฏการณ์คาวิเตชั่นเกิดขึ้นหรือไม่ หากไม่มีเครื่องมือเฉพาะก็อาจสามารถสังเกตได้ด้วยการฟังเสียงในส่วนที่เกิดปรากฏการณ์ คาวิเตชั่น ซึ่งจะมีเสียงดัง เหมือนก้อนกรวดไหลกระแทกผิวโลหะ หรือสังเกตจากการสั่นสะเทือนและตรวจวัดจากสัญญาณการสั่นสะเทือน การหลีกเลี่ยงปัญหา Cavitation สามารถกระทําได้โดยการทําให้ความดันของของเหลวในเครื่องจักรหรือระบบการไหลสูงกว่าความดันไอของของเหลวเสมอ โดยสามารถทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ Reengineering of Components Initiating High Speed Velocity and Low Static Pressure  โดยการใช้ชิ้นส่วนที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ยกตัวอย่าง สภาวะที่มีความดันตกคร่อมสูง huge pressure drops ให้ใช้ Multi Stage Control Valves ในกรณีที่ อุณหภูมิของของเหลวใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่สารจะ vaporization โดยเราสามาถหลีกเลี่ยงปัญหาได้โดยใช้ special pump Increasing the Total or Local Pressure in the System โดยพยายามติดตั้งระบบท่อและเครื่องสูบน้ำให้ค่าหัวดูดสุทธิที่เป็นบวกที่มีอยู่ให้มีค่าสูงกว่าค่าหัวดูดสุทธิที่เป็นบวกที่ต้องการของเครื่องสูบน้ำ 3. ลดอุณหภูมิของสาร ข้อมูลจาก: http://www.4uengineer.com

406, 2018

การเลือกใช้ ปั๊มน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ปั๊มน้ำ เป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงดันน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานด้วยมอเตอร์(ไฟฟ้า) และแบบที่ใช้เครื่องยนต์(น้ำมัน) ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังหมุนส่งกำลังให้ปั๊มน้ำทำงาน เพิ่มแรงดันให้น้ำและส่งน้ำไปตามท่อ สามารถแบ่งประเภทของปั๊มตามการใช้งานได้ดังนี้ เป็นปั๊มน้ำรุ่นแรกๆที่นิยมใช้กัน มีทั้งที่ทำจากเหล็ก และสแตนเลส เป็นการใช้ใบพัดในการสร้างแรงดันน้ำให้ไหลไปตาท่อ โดยมีสวิทช์เปิดปิดควบคุม เวลาที่เราใช้น้ำจะทำให้ความดันในปั๊มค่อยๆลดลงจนสุดปั๊มก็จะทำงาน ติด หยุด ติด หยุด ตามการใช้งานจริง และประหยัดไฟกำลังส่งไปยังจุดต่างๆภายในบ้านได้ดี ​ปั๊มน้ำอัตโนมัติ เหมาะสำหรับอาคาร ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว สามารถต่อกับเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า หรือก๊อกน้ำได้ เป็นปั๊มน้ำอีกเจนเนอเรชั่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับปั๊มน้ำแบบเก่าหรือปั๊มแบบอัตโนมัติ โดยปั๊มน้ำแบบแรงดันนี้จะทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ตัวเล็ก หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่เป็นโลหะซึ่งเป็นที่มาของการเกิดเสียงดังเวลาที่ปั๊มทำงาน ​ปั๊มน้ำแบบแรงดัน เหมาะสำหรับอพาร์ทเม้นท์ อาคารตึกแถว ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว เป็นปั๊มอัตโนมัติควบคุมแรงอุปกรณ์เกี่ยวกับน้ำให้มีแรงดันคงที่ ให้น้ำสม่ำเสมอ เหมาะกับการติดตั้งใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องสูบน้ำแบบนี้มีใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อภาคการเกษตร คือ สูบน้ำได้ปริมาณมาก น้ำที่สูบไม่จำเป็นที่จะต้องสะอาด เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ปะปนอยู่ในน้ำ ไม่ค่อยมีผลเสียต่อเครื่องสูบน้ำชนิดนี้มากนัก การใช้งานก็มีอยู่อย่างกว้างขวาง ทั้งในไร่นา สวนผัก สวนผลไม้ หรือแม้แต่ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เครื่องสูบน้ำแบบนี้ เหมาะสำหรับสูบน้ำในแม่น้ำลำธาร บ่อน้ำ คูคลอง หรืออ่างเก็บน้ำที่มีระดับต่ำกว่าระดับพื้นดินไม่เกิน 10 เมตร การทำงานของปั๊มจะทำการสูบน้ำโดยใช้ระบบใบพัด ความเร็วรอบสูง จะทำให้ได้ปริมาณน้ำมาก อัตราการไหลอยู่ที่ 20,000 45,000L/H ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะใบพัด Total Head 15-20 เมตร ถ้าเป็นหอยโข่งรุ่น 2 ใบพัด, 3 ใบพัด Head จะมากขึ้น หรือปั๊มแช่ ใช้กับงานสูบน้ำออก ข้อดีคือความสะดวกกับการเก็บในพื้นที่ที่จำกัด ตัวปั๊มจะต้องอยู่ในน้ำแล้วส่งน้ำขึ้นไปยังพื้นที่ที่ต้องการผ่านสายยางหรือท่อน้ำที่ต่อไว้ ส่วนข้อเสียนั้นก็ไม่พ้นเรื่องแรงดันน้ำที่ได้ค่อนข้างน้อย และระยะทางที่ค่อนข้างสั้นแต่ในบางสถานการณ์ปั๊มน้ำแบบนี้ก็เป็นพระเอกได้เหมือนกันซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ที่จะใช้งาน ปั๊มน้ำแบบจุ่ม หรือแบบแช่ เหมาะสำหรับงานน้ำท่วม ใช้ระบายน้ำในพื้นที่จำกัด งานถ่ายเทน้ำฝน งานก่อสร้าง ให้น้ำในสวนหรือที่ไร่นาในงานเกษตร การเพาะเลี้ยง บ่อน้ำพุในสระ หรือแหล่งน้ำขังต่างๆ